วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปัญญาความคิด
เราได้เห็นว่ามนุษย์ได้พัฒนาจากสภาวะเร่ร่อนอยู่ตามธรรมชาติมาจนสู่สภาวะที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากการเร่ร่อนล่าสัตว์ที่ชัดเจนมากขึ้นมาเป็นการกสิกรรมสังคมเผ่าเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมของบ้านและสังคมของเมือง  เริ่มมีระบบการปกครองเป็นรูปร่างขึ้น  พัฒนาการของมนุษย์นั้นมิใช่มีเฉพาะที่เห็นจากภายนอกดังกล่าวเท่านั้น ความคิดของมนุษย์ก็พัฒนาสอดคล้องไปในแนวเดียวกันคือ  เริ่มตั้งแต่ความไม่เข้าใจธรรมชาติ  ทำให้เชื่อโลกเหนือธรรมชาติ  เชื่อผีสางเทวดาไปจนถึงชั้นหาทางติดต่อหรือควบคุมอำนาจเหนือธรรมชาติ  อันทำให้เกิดพ่อมดหมอผี  และชนชั้นนักบวชซึ่งกลายเป็นผู้ที่มีอำนาจในเผ่าและเมืองต่อมา  สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากการต่อสู้ของมนุษย์เพื่อจะอยู่รอดในสภาวะที่มนุษย์ยังไม่เข้าใจธรรมชาติอย่างเพียงพอ  และการดิ้นรนครั้งแรกนี้ได้ทำให้สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจหรือระบบสังคมและการเมือง  ระบบความเชื่อต่างๆ พัฒนาตัวของมันตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
ความคิดและความรู้ของมนุษย์
            มนุษย์เป็นสัตว์ที่รู้จักคิด  และความคิดของมนุษย์นั้นน่าอัศจรรย์ยิ่งนักเมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถการติดชองสัตว์  มนุษย์จึงต่างกับสัตว์อย่างเห็นได้ชัดและแยกออกจากสัตว์อย่างสิ้นเชิง  เมื่อพูดถึงสิ่งมีชีวิตเรามักแยกเป็นมนุษย์  สัตว์และพืช ข้อนี้แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ต้องการแสดงความแตกต่างระหว่างเผ่าพันธุ์ของตนกับเผ่าพันธุ์ของสัตว์  ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดก็คือความเป็นนายธรรมชาติ  และความมีวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ  เช่นมีภาษาที่พัฒนาอย่างสูง  รู้จักสร้างสรรค์งานทางศิลปะ  เป็นต้น  ความคิดซึ้งทำให้มนุษย์เจริญกว่าสัตว์นี้มีลักษณะและความเป็นมาอย่างไรเป็นเรื่องที่เราต้องสนใจ  หากปรารถนาจะเข้าใจอารยธรรมอย่างถ่องแท้
มนุษย์มิได้สร้างอารยธรรมขึ้นได้วันเดียว  มนุษย์ต้องใช้เวลาอันยาวนานในการสร้างอารยธรรมมนุษย์ต้องเอากำลังกาย  ความคิดและคิดเอาชีวิตเข้าแลกจึงจะได้อารยธรรมอย่างที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้  และความ คิดนั้นเองที่ทำให้มนุษย์ใช้กำลังน้อยลง  แต่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  อายุยาวขึ้น  และมีความสุขในรูปแบบต่างๆเพิ่มขึ้น
            อะไรทำให้มนุษย์เจริญกว่าสัตว์ เราอาจตอบได้ว่าปัญญาหรือความรู้ของมนุษย์เหนือกว่าสัตว์  แต่ถ้าความเหนือกว่านี้เป็นเพียงปริมาณมนุษย์ก็คงไม่เหนือกว่าสัตว์เท่าไหร่นัก  ความรู้ของมนุษย์น่าจะต่างสัตว์ในแง่ลักษณะหรือชนิดของความรู้สึกด้วย  ความรู้ของสัตว์เป็นความรู้ชนิดใด

            ความรู้ของสังคมของสัตว์และมนุษย์ล้วนแต่เป็นการสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อม  สิ่งแวดล้อมซึ่งสัตว์ชั้นต่ำกว่ามนุษย์สนองตอบนั้นเป็นชนิดง่ายๆ  ซึ่งระบบสัมผัสและระบบประสาทของสัตว์จะรับได้และการสนองตอบเหล่านี้ช่วยให้สัตว์ดำรงเผ่าพันธุ์ได้  แต่บรรพบุรุษของมนุษย์เริ่ม มีลักษณะต่างกับสัตว์ที่ต่ำกว่ามาตั้งแต่เมื่อล้านหรือครึ่งล้านปีมาแล้ว  เช่น  สักการะของมือและหัวแม่มือที่ใช้จับได้ดี  ลักษณะเชิงกราน  ขา  และเท้าเป็นต้นแต่ที่สำคัญที่สุดคือสมอง  สมองส่วนหลังใหญ่ขึ้นและทำให้พื้นที่การมองเห็นกว้างกว่าขึ้น  สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภาษาละสัญลักษณ์ก็ขยายขึ้น  ส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้คนต่างจากสัตว์ก็คือการที่คนสามารถใช้สัญลักษณ์ได้  กล่าวคือคนสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องหมายกับความคิดได้  ปราศจากเครื่องหมายความคิดก็ไปได้ไม่ไกล  การพัฒนาระบบเครื่องหมายได้ทำให้มนุษย์ต่างกับสัตว์   กล่าวคือภาษาทำให้ความเจริญทางวัตถุเกิดขึ้นได้มาก  และเพราะภาษาทำให้สังคมยิ่งซับซ้อนขึ้น  ระบบการเขียน  การพิมพ์  การสื่อสาร  ช่วยให้คนรับและส่งความรู้แก่กันได้  การพัฒนาทางร่างกายก็ทำให้คนเปลี่ยนจากการใช้เครื่องมือ  เปลี่ยนจากการใช้กระดูกและหินมาจนถึงการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันหาความรู้เกี่ยวกับโลภภายนอกไปไกลถึงดวงดาวอื่น  และศึกษาละเอียดลงไปจนถึงส่วนประกอบของอะตอมที่สำคัญมากก็คือมนุษย์สามารถแยกโลกภายนอกคือโลกของวัตถุ กับโลกภายในคือความรู้สึกนึกคิดของตนได้โดยรู้ตัวและเข้าใจ  มิใช่เป็นเพียงทำไปตามแรงกระตุ้นของสัญชาตญาณให้ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมโดยไร้เหตุผลอย่างสัตว์